Last updated: 9 ม.ค. 2564 | 6730 จำนวนผู้เข้าชม |
ระบบสี CMYK
เป็นสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก Cyan (ฟ้า) Magenta (แดงอมม่วง) Yellow (เหลือง) Key (สีดำ ไม่ได้ใช้ B Black นะ )ระบบสี CMYK นั้นเหมาะสำหรับงานพิมพ์ เช่น หนังสือ โปรเตอร์ แผ่นพับ หรืองานไวนิลทั่วไป เอาง่าย ๆ ว่า งานที่อย่างที่ต้องพิมพ์ออกมาเราจะใช้ระบบสีเป็น CMYK
"CMYK เป็นการพิมพ์" โดยการนำสีทั้ง 4 สี มารวมกันแล้วเกินภาพต้นฉบับที่เราต้องการ ระบบการพิมพ์ 4 สีเป็นระบบที่นิยมใช้กันมากโดยทั่วไป ทั้ง งานโปรเตอร์ กล่อง Packaging แผ่นพับ หรืองานไวนิล แต่งานหนังสือบางครั้งก็จะพิมพ์ 4 สี แค่ปกหนังสือเนื้อในั้น จะพิมพ์เพียงแค่สีดำ หรือ พิมพ์ 2 สีเป็นอีก 1 สีที่ผสมระหว่าง K+กับอีก 1 สี (CMY) นั้นเอง
การกำหนดค่าสีในงานที่จะทำการส่งโรงพิมพ์ เราจะเรื่องจากค่าสี CMKY เท่านั้น เพราะถ้าเราเลือกค่าจาก RGB ที่เป็น #CCC สีที่ออกมานั้นจะผิดเพียนไปจากหน้าจอที่เราเห็น เราจึงต้องกำหนดแบบ CMYK เช่น C = 100 M = 0 Y = 100 K = 0 เราก็จะได้ค่าสีที่แน่นอนสำหรับงานพิมพ์
หรือบางครั้งเราก็ต้องใช้รหัสสีตัวอย่างจาก Chart สี เพื่อความเที่ยงตรงของสีที่จะพิมพ์ออกมา
หากเมื่อใดที่เราต้องการสร้างไฟล์งานสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งโรงพิมพ์ เราต้องมั่นใจว่าไฟล์งานของเรา เป็นไฟล์งานที่ใช้งาน mode CMYK ซึ่งโปรแกรมที่นักออกแบบงานนิยมใช้กันมากก็คือ Adobe Photoshop Adobe Illustrator หรือ Adobe InDesign
ระบบสี RGB
การกำหนดค่าสี RGB ในส่วนของ RGB การเลือกสีต่างๆ นั้น สามารถเลือกได้ถึง 2 สี – 16 ล้านสี (https://th.wikipedia.org) ซึ่งจะมีสีที่ผสมกันทั้งหมด 3 สี คือ Red Green และ Blue (RGB) ซึ่งงานที่เหมาะสมกับโหมดสี RGB คืองานที่ใช้แสงดผลบนหน้าจอ เช่น เว็บไซต์ สื่อโฆาณาแบบออนไลน์ หรืออีเมล์ทางการตลาด
การกำหนดค่าสีนั้นจะกำหนดได้ตั้งแต่ 0-255 ในแต่ล่ะสี เช่น R = 0 G= 174 B= 239 หรือ code สี #00aeef
จะสังเกตได้ว่า ระบบสี CMYK เมื่อมองจากจอนั้นจะเป็นสีที่อ่อนและสดใสสู้สีแบบ RGB ได้ก็เนื่องจาก หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ของเรานั้นลองระบการทำงานสีแบบ RGB ทำให้เรามองเห็นสีในโหมด CMYK ได้ไม่ดีนัก
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักออกแบบมือใหม่และนักเขียนได้เข้าใจกันว่าเราจะต้องเตรียมงานของเราอย่างไร
ที่มา : https://www.facebook.com/rongpimkorat
25 ม.ค. 2564
13 ม.ค. 2563
13 ม.ค. 2563
19 พ.ค. 2565