ตัดตก คือ การตั้งระยะเผื่อพื้นที่ของงานในส่วนที่เป็นพื้นหลัง ให้กว้างกว่าขนาดของงานจริงออกไป งานพิมพ์ทุกใบจะพิมพ์ออกมาไม่ตรงกันทั้งหมดอาจจะมีเคลื่อน บน ล่าง ซ้าย ขวา ประมาณ ไม่เกิน 1 mm. ซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมกันจะตั้งระยะเผื่อไว้ประมาณ 3 มิลลิเมตร จะให้สีและลวดลายของส่วนที่ตั้งระยะเผื่อเป็นสีและลวดลายเดียวกันกับพื้นหลัง ระยะตัดตกจะป้องกันให้งานพิมพ์ไม่มีขอบสีขาว
ระยะขอบ ( Margin ) หรือระยะปลอดภัยจากการตัด จะอยู่เข้ามาด้านในของเส้นตัดเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะวางตัวอักษร หรือลวดลายกราฟิกที่สำคัญ เป็นพื้นที่ที่จะไม่เสี่ยงจะถูกตัด
ระยะตัดตก ( Bleed ) และ ระยะขอบ ( Margin ) สำคัญมากๆ ในการส่งงานพิมพ์กับโรงพิมพ์ทุกที่เพราะไม่มีเครื่องมือไหนสามารถตัดขอบงานได้ทั้งหมด เพื่อที่จะให้งานออกมาสำเร็จ มีมาตรฐาน
โดยมาตฐานแล้วจึงควรตั้งระยะตัดตกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้
โดยทั่วไปแล้วระยะ ตัดตก และ ระยะขอบจะอยู่ที่ 3 mm. หรือก็คือระยะตัดตกจะเผื่อออกไปจากเส้นตัด
ด้านล่ะ 3 mm. และ ระยะขอบ จะเผื่อเข้ามาจากเส้นตัด ด้านล่ะ 3 mm.
ก็คือตัดตกจะเป็น 9.6 x 6 cm. และ ระยะขอบจะเป็น 8.4 x 4.8 cm. ตัวอย่างนามบัตรภาพบอลลูนนี้
ก่อนอื่นต้องทำการตั้งค่า ระยะตัดตก และ ระยะขอบ ในโปรแกรม Adobe Illustrator กันก่อนวิธีการตั้งค่าระยะตัดตก ( Bleed ) และ ระยะตัดขอบ หรือระยะปลอดภัย ( Margin )
หากไม่ทำระยะตัดตกเผื่อไว้ หรือทำ Artwork สำคัญๆ เกินระยะตัดขอบหรือระยะปลอดภัย จะเกิดปัญหาอะไรขึ้นเมื่อพิมพ์งานออกมา….???
ถ้าไม่ได้ทำตัดตกเวลาพิมพ์งานออกมา แน่นอนอาจจะเห็นขอบสีขาวๆ ได้ ทำให้งานดูไม่เรียบร้อยทำให้ยุ่งยากในการต้องตัดขอบงาน อีกทั้งยังเสียเวลาอีกด้วย
ถ้าเราทำ Artwork เกินระยะตัดขอบหรือระยะปลอดภัย เมื่อนำไปตัด รูปภาพ หรือกราฟิกสำคัญๆ อาจจะโดนตัดตามตัวอย่างภาพบอลลูนจนขาดไปเลย ดังนั้นเวลาออกแบบ Artwork ไม่ควรที่จะออกแบบให้รูปภาพ หรือกราฟิกที่สำคัญๆ เกินระยะตัดขอบ
มาดูกันว่าหากเราทำการตั้งค่า Artwork ทั้งระยะตัดตก และ ระยะตัดขอบ เมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วงานก็จะไม่ขอบขาว และรูปภาพก็ไม่โดนตัดกินไปด้วย