ระบบการพิมพ์มี 7 ระบบในยุคปัจจุบัน

Last updated: 9 Jan 2021  |  9446 Views  | 

ระบบการพิมพ์มี 7 ระบบในยุคปัจจุบัน

1.การพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)

การพิมพ์แบบดิจิตอลเป็นงานพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนเนื้อกระดาษบาง และสติ๊กเกอร์ต่างๆ
ซึ่งมีความหนาของกระดาษตั้งแต่ 60 ถึง 350 แกรม , มีขนาดงานใหญ่สุด 13 x 19 นิ้ว
สามารถพิมพ์ความละเอียดได้ ตั้งแต่ 2400 x 2400 dpi โดยใช้ resolution 300

มีจุดเด่น สามารถพิมพ์งานได้โดยไม่ต้องแม่พิมพ์ หรือพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ได้เลย
(เหมาะกับการพิมพ์ในจำนวนตั้งแต่ 1 - 500 ใบ)


2.ออฟเซ็ท (Offset Printing)

การพิมพ์แบบออฟเซ็ทเป็นงานพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนเนื้อกระดาษบาง และสติ๊กเกอร์เช่นกัน
ซึ่งมีความหนาของกระดาษตั้งแต่ 45 ถึง 400 แกรม ในเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตประเภทกระดาษบาง
ซึ่งมีความหนาของกระดาษตั้งแต่ 300 ถึง 500 แกรม ในเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตประเภทกระดาษหนา
มีขนาดงานใหญ่สุดที่สามารถพิมพ์ได้ที่ 28 x 40 in
สามารถพิมพ์ความละเอียดได้มากกว่า 2400 x 2400 dpi โดยใช้ resolution 300

มีจุดเด่น สามารถพิมพ์งานได้ในจำนวนที่มาก และรวดเร็ว
(เหมาะกับการพิมพ์ในจำนวนตั้งแต่ 500 - 1,000,000 ใบ)


3.เฟล็กโซกราฟี (Flexo Printing)


การพิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟีเป็นงานพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก 
ซึ่งมีกระดาษแผ่นเรียบ ( Liner Board ) คือ กระดาษแผ่นเรียบที่ติดอยู่กับลอนลูกฟูก
ลอนลูกฟูก ( Corrugated Medium ) คือ ส่วนของกระดาษที่มีลักษณะเป็นคลื่น และอยู่ติดกับ

แผ่น Liner boar
ลูกฟูกยังมีกระดาษแบ่งตามชนิด ดังนี้
- KS - กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด
- KA - กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่อง มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ
- KI - กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตา แต่ไม่ทนทาน
- KP - กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง มีโทนสีใกล้เคียงกับกระดาษต่างประเทศ
- KT - กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycled 100% เพื่อส่งเสริมด้าน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- CA - กระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก มีคุณสมบัติความแข็งแรงในการป้องกันแรงกระแทก สำหรับทำลอนลูกฟูกขนาดต่างๆได้ทุกลอนให้ได้คุณภาพสูง ความแข็งแรง

มีจุดเด่น สามารถพิมพ์กล่องลูกฟูกเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ จำนวนสีไม่เยอะ ราคาแม่พิมพ์ค่อนข้างแพง
(เหมาะกับการพิมพ์ในจำนวนตั้งแต่ 1000 - 1,000,000 ใบ)


4.กราเวียร์ (Gravure Printing)

การพิมพ์แบบกราเวียร์เป็นงานพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ซึ่งสามารถพิมพ์ ถุงได้หลายประเภทตามชนิดพลาสติก 

- พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) : เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แต่อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร
- พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าพอลิเอทิลีนทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติถุงพลาสติกบรรจุอาหาร
- พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC) ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร และป้องกันไขมันได้ดีมีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ใช้ทำแผ่นพลาสติก ห่อเนยแข็ง
- ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนตสำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ
- พอลิเอสทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) เหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร
- พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด แต่ไม่ทนด่าง เป็นรอยหรือคราบอาหาร จับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก

มีจุดเด่น สามารถพิมพ์งานได้ในจำนวนที่มาก และรวดเร็ว ราคาแม่พิมพ์ค่อนข้างสูง
(เหมาะกับการพิมพ์ในจำนวนตั้งแต่ 200 kg )



5.อิงค์เจ็ท (Inkjet Printing)


งานพิมพ์อิงเจ็ดแบ่งออกเป็นงาน indoor กับ Outdoor 
Indoor ใช้พิมพ์งานที่มีความละเอียดสูง ซึ่งเน้นความคมชัด
ใช้กับงานติดตั้งภายในอาคาร หมึกจะมีกลิ่นน้อย แต่ไม่ค่อยทนแดด
Resolution 150-300 dpi ก็เพียงพอ
เพราะใช้สำหรับงานมองใกล้ตั้งแต่ 50 เซนติเมตร -3 เมตร (สำหรับยืนมองหรือยืนอ่าน)

Indoor ใช้พิมพ์งานที่มีความละเอียดต่ำ ซึ่งไม่เน้นความคมชัด
ใช้กับงานติดตั้งภายนอกอาคาร หมึกจะมีกลิ่นแรง แต่ทนแดด
ความละเอียดในการพิมพ์งาน Resolution 75 dpi ก็เพียงพอ
เพราะใช้สำหรับงานมองไกลตั้งแต่ 3 เมตร จนถึงงานพิมพ์บนตึก บนอาคาร


6.สกรีน (Screen Printing)


เป็นงานพิมพ์ที่โบราณ แต่ยังใช้ในปัจจุบัน
นิยมใช้สำหรับงานสกรีน กระเป๋า เสื้อ และ อุปกรณ์ผิวเรียว ซึ่งต้องทำที่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยี เครื่องจักรใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการผลิต


7.พิมพ์สามมิติ (3D Printing)


เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ในบ้านเรา
งานพิมพ์ 3D ยังไม่ถูกนำมาใช้งานในบ้านเราอย่างจริงจัง ด้วยความรู้ที่ยังไม่มีคนนำเข้ามาเผยแพร่ ปัจจุบันจีนใช้ในการสร้างบ้าน หรือ โมเดล
ด้วยเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ โดยใช้หลักในการหลอมละลายวัสดุ เพื่อให้วัสดุอยู่ในจุดหลอมเหลวเดียวกัน และติดกันสนิท ขึ้นรูปตามที่เขียนโครงสร้างงานพิมพ์ไว้ในโปรแกรม

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy