Last updated: 28 Jan 2021 | 1844 Views |
การออกแบบฉลากสินค้า จะต้องมีองค์ประกอบหลักที่ประกอบไปด้วย วันที่เริ่มผลิต และวันที่สิ้นสุดคือหมดอายุ ชื่อผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหรือชื่อบริษัทที่ผลิต ส่วนประกอบที่เราผสมลงไปในสินค้า
เพื่อที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคได้ง่ายและจะต้องมีเครื่องหมายอนุญาตผลิต มอก. อย. และบาร์โค้ด ที่อยู่ของบริษัทที่ผลิตเพื่อที่จะให้สินค้าของเราเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุดและจะต้องใส่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างมากที่สุดจะต้องใส่ข้อมูลที่สอดคล้องกับสินค้าที่เราใส่ลงไป ซึ่งฉลากสินค้าจะเป็นปัจจัยหลักและตัวเลือกในการที่ลูกค้าเห็นสินค้าแล้วจะตัดสินใจซื้อสินค้าของเราทันที
การพิมพ์ฉลากสินค้า จะต้องมีสีสันที่ชัดเจนและข้อมูลตัวหนังสือที่ชัดเจนโดยอาจจะนำมาแมชกับการที่ใช้แพนโทนสีในการช่วยทำให้สินค้ามันชัดเจนและสดใสมากยิ่งขึ้นโดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็จะใช้แพนโทนสีมาแมชกับการใช้ทำฉลากสินค้าโดยปกติอยู่แล้วมันเป็นอะไรที่ผสมเข้าคู่กลมเกลียวกันอย่างมาก
5 เคล็ดลับการออกแบบฉลากให้ ‘ปัง’
1 คิดใส่ข้อมูลที่สำคัญ คิดใส่เนื้อหาหรือข้อมูลที่สำคัญที่สุดเพื่อที่จะทำให้โลโก้ของเราเป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจสำหรับลูกค้าที่จะมาใช้และมาซื้อสินค้าของเราหากเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆไม่ใหญ่มาก อาจจะใช้โลโก้เพียงตัวเดียวแต่ใส่ทุกตัวผลิตภัณฑ์เลยก็ย่อมได้
หากผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ของเราเองแต่สำหรับธุรกิจใหญ่หรือธุรกิจที่มีสินค้าหลายชนิดหลายอย่างแล้วอาจจะต้องใช้โลโก้ตัวเดียวแต่ว่าออกแบบแตกต่างกันออกไป เช่น สินค้าตัวนี้เป็นโลโก้ช้างสีชมพู สินค้าอีกตัวอาจจะเป็นช้างสีฟ้าถัดไปอีกอาจจะเป็นสีขาวแต่ก็อาจจะยังใช้โลโก้เดิมเพียงแต่เปลี่ยนแบบเปลี่ยนสีของมันเท่าชื่อก็ยังคงเดิม
2 Font ตัวหนังสือ สำคัญเลยฟอนต์ตัวหนังสือต้องอ่านออกและชัดเจนไม่ใช่ว่าสินค้าออกแบบมาแนวดุดัน แต่ฟอนต์ตัวหนังสือที่เขียนลงไปในสินค้า ออกแนวน่ารัก วันเดอร์แลนด์ ต้องออกแบบให้มันแมชและเข้ากันดุดันและชัดเจน
อาจจะเป็นตัวหนังสือออกแนวอินเดียมีตวัดหางขึ้นนิดหน่อยอะไรแบบนี้ก็ได้เป็นแนวน่ารักก็จะตัวหนังสือผอมๆหน่อย ออกแนวมุ้งมิ้งอะไรก็ว่าไปและถ้าเป็นแนวแบบไทยเลยก็จะเป็นตัวหนังสือที่ขนาดปกติและเป็นตวัดหางทั้งขึ้นทั้งลงแบบนี้ก็ย่อมได้เสมอให้เข้ากับผลิตภัณฑ์
3 สีของตัวหนังสือ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการจะเลือกสีโดยเลือกจากแพนโทนสี เพราะแพนโทนสีจะมีสีที่ชัดเจนและตรงเป๊ะกับโรงพิมพ์เมื่อผู้ประกอบการประสงค์ที่จะสั่งพิมพ์กับโรงพิมพ์แล้วก็เพียงแค่บอกโค้ดของแพนโทนสีไปแล้วเขาจะทำตามให้ตามที่เราบอกไปโดยสีของตัวหนังสือก็จะคล้ายๆกับการใช้ฟอนต์ตัวหนังสือก็อาทิเช่น หากแนวผลิตภัณฑ์ออกมาแนวชัดเจน ดุดัน ก็อาจจะใช้สี แดง ดำ เทาหม่นๆ ออกแนววันเดอร์แลนด์ เจ้าหญิงก็อาจจะเอาใจผู้บริโภคสตรี อาจจะเอาเป็นสีชมพูพาสเทล สีฟ้าอ่อนพาสเทล สีม่วงอ่อนพาสเทลแบบนี้ก็ได้
4 การเว้นวรรคตอนที่ถูกวิธี การเว้นวรรคตอนก็สำคัญในระดับหนึ่งโดยหากเราเป็นผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปบริโภคไปใช้ แล้วเราไม่รู้วิธีการใช้และเราต้องการที่จะอ่านวิธีการใช้ด้านหลังที่ฉลากสินค้าได้เขียนบอกมาแต่เรากลับด้านมันมาดูแล้ว แล้วเห็นตัวหนังสือมันเล็กเกินไปและไม่มีการเว้นวรรคตอนเราก็จะไม่อ่านมันและบางทีอาจจะโยนทิ้งมันไป
และใช้แบบที่เราเข้าใจว่ามันน่าจะใช้แบบนี้แต่จริงแล้วไม่ใช่ อาจจะทำให้เกิดผลเสีย โดยหากเราเป็นผู้ประกอบการที่ทำและออกแบบควรจะมีการเว้นวรรคตอนที่ถูกต้องเช่น ห่าง 1 นิ้ว ระหว่างบรรทัดห่าง 1-2 เซนติเมตร และหากบรรทัดเดียวกันอาจจะเป็น เคาะ 2-3 ที เพื่อความชัดเจนของตัวหนังสือและการเว้นวรรคตอนจะนิยมใช้สีขาวในการเว้น
ไม่นิยมใช้สีอื่น เพราะมันจะทำให้สินค้าดูเกิดความตลกขบขันขึ้นมาทันที ส่อให้เห็นถึงความผิดพลาดของบริษัทเรา หากมีลูกค้าท่านใดที่คิดจริงจัง
5 การเลือกภาพและการตกแต่งอย่างสุดความสามารถ การเลือกภาพเล็กๆ 2-3 รูปก่อนที่จะนำมาใส่ ควรเลือกภาพที่ชัดเจน ! และสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อที่ผู้บริโภคจะได้ดูออกว่าสินค้าของเราออกจะเป็นแนวแบบนี้ เป็นต้น และตกแต่งฉลากสินค้าอย่างสุดความสามารถ และทำอย่างคนมีศิลปะอยู่ในหัวใจ ทำให้สุดความสามารถ แล้วสั่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์ได้ โดยทุกอย่างจะต้องชัดเจนไม่บิดเบือน
ควรที่จะตรวจสอบทุกครั้งก่อนจะส่งให้โรงพิมพ์ เพื่อให้การดีไซน์ฉลากผลิตภัณฑ์ของเราออกมาได้สมบูรณ์สอดคล้อง สวยสดงดงามตามของจริง หากท่านไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ ท่านสามารถหาผู้ประกอบการที่รับจ้างทำโลโก้ออกแบบโลโก้ ทำให้ท่านได้
โดยท่านบอกเขาถึงความต้องการของท่าน ว่าท่านอยากจะให้มันเป็นไปอย่างไรจึงจะถูกต้องและตรงความประสงค์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ดีการที่ผู้บริโภคได้เห็นสิ่งดีๆเช่นโลโก้ของสสินค้าเราลูกค้าก็มั่นใจที่จะซื้อสินค้าของเราแล้ว
28 Oct 2021
9 Jan 2020
14 Jun 2022